วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Testing Report

Specification: S = 110 VA (ตามข้อมูลการออกแบบ)
Vprimary = 110 V Vsecondary = 110 V
I pri.(Rated) = 1 A I sec.(Rated) = 1 A

ผลการทดสอบในด้านต่างๆของหม้อแปลง
Insulating Resistance
Rprimary = 0.0 Ω Rsecondary = 0.0 Ω
Rprimary to core = ∞ Ω Rsecondary to core= ∞ Ω
Rpri to sec = ∞Ω

1. Transformation Ratio


2. Approximated Equivalent Circuit

Rp = 7.7 Ω Xp = 0.0 Ω
Rc = 1023.28 Ω Xm = 559.43 Ω



3. Load Test (Constant Input Voltage)

At Full Load Condition: %η = 87.18 % Losses = 15.5 W
S1 = 122.3 VA S2 = 105.78 VA Voltage Regulation = 7.14 %

4. Polarity Test

V12 = 30.5 V --------------- V34 = 30.6 V ----------------- V13 = 61.4 V



5. Voltage Tapping (Constant Input Voltage)



6. Step-Down Autotransformer (Constant Input Voltage)

At Full Load Condition : %η = 92.71 % Losses = 15.1 W
S1 = 222.4 VA S2 = 187.59 VA Voltage Regulation = 0.45 %


7.Step-Up Autotransformer (Constant Input Voltage) At Full Load Condition : %η = 90.72 % Losses = 23.2 W
S1 = 251.7 VA S2 = 225.4 VA Voltage Regulation = 5.57 %

8. Voltage Regulator for Fluorescent Lamp 3 X 36 W
(Constant Input Voltage)

At Full Load Condition %η = 87.92 % Losses = 13.9 W
S1 = 193.78 VA S2 = 174.72 VA Voltage Regulation = 0.00%



At Full Load Condition %η = 92.65 % Losses = 9.2 W
S1 = 220.89 VA S2 = 188.79 VA Voltage Regulation = 0.0 %

Doing by Step

ขั้นตอนในการทำหม้อแปลง
1.กำหนดขนาดพิกัดของหม้อแปลงทั้งPrimary voltage และ Secondary Voltage
2.เลือกขนาดลวดทองแดงที่ต้องใช้(ในที่นี้ใช้ลวดทองแดง#22)
3.เลือกค่าMagnetic Flux Density โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 1.2-1.5 (ในที่นี้เลือกB=1.15)
4.หลังจากได้ค่า B แล้วนำมาคำนวณหาจำนวนรอบทั้งทางด้านPrimary และSecondary(ในที่นี้ได้ 331 รอบ)
5.ดำเนินการพันหม้อแปลง
6.ทดสอบประสิทธิภาพของหม้อแปลงในด้านต่างๆ


Material

วัสดุและอุปกรณ์


1.Bobbin


2.ขดลวดทองแดง

3.เครื่องพันขดลวดหม้อแปลง




4.สลีพสายไฟ



5.คีม+กรรไกร



6.กระดาษฉนวน



7.แกนเหล็ก


8.ตาชั่ง




9.น้ำยาVarnish




10.ตู้อบหม้อแปลง

Information Design

พิกัดหม้อแปลง 110 VA Turn Ratio = 1:1
Primary Voltage 110 VA Secondary Voltage = 110 V
โครงสร้าง Shell type
ใช้งานเป็น Autotransformer
Magnetic Flux Density (B) = 1.15 Tesla
E/N = 0.332 Volt/Turn
Core Area = 13.01 cm
Current Density = 2.5 A/mm
N1 = 331 Turns,Copper Wire SWG size = 22 Area = 0.00397 cm
N2 = 331 Turns,Copper Wire SWG size = 22 Area = 0.00397 cm
Copper Area = 2.63 cm
Window space factor = 0.6
Net Window Area = 3.402 cm

น้ำหนักลวด = 0.33 kg. น้ำหนักแกนเหล็ก = 1.94 kg. น้ำหนัก = 2.42 kg.
Bobbin กว้าง = 3.3 cm. ยาว = 4.15 cm. สูง = 5.2 cm.
V1 = 110 V V2 = 110 V Turn Ration = 1:1
No Load Losses = 8.50 W Full Load Losses= 15.10 W
ประสิทธิภาพหม้อแปลง (Isolation Transformer) 88.59 %

Theory

หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ จากวงจรหนึ่งไปยังอีกวงจรหนึ่งโดยวิธีทางวงจร แม่เหล็กซึ่งไม่ มีจุดต่อไฟฟ้าถึงกันและไม่มีชิ้นส่วนทางกลเคลื่อนที่ โดยทั่วไปเราใช้หม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้มีขนาด ลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิมโดยมีความถี่ไฟฟ้าคงเดิม

โครงสร้างของหม้อแปลงไฟฟ้า
หม้อแปลงแบ่งออกตามการใช้งานของระบบไฟฟ้ากำลังได้ 2 แบบคือ หม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 1 เฟส และหม้อแปลงไฟฟ้า ชนิด 3 เฟส
แต่ละชนิดมีโครงสร้างสำคัญประกอบด้วย
1. ขดลวดตัวนำปฐมภูมิ (Primary Winding) ทำหน้าที่รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า
2. ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ทำหน้าที่จ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า
3. แผ่นแกนเหล็ก (Core) ทำหน้าที่เป็นทางเดินสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและให้ขดลวดพันรอบแกนเหล็ก
4. ขั้วต่อสายไฟ (Terminal) ทำหน้าที่เป็นจุดต่อสายไฟกับขดลวด
5. แผ่นป้าย (Name Plate) ทำหน้าที่บอกรายละเอียดประจำตัวหม้อแปลง
6. อุปกรณ์ระบายความร้อน (Coolant) ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับขดลวด เช่น อากาศ , พัดลม , น้ำมัน หรือใช้ ทั้งพัดลมและน้ำมันช่วยระบายความร้อน เป็นต้น
7. โครง (Frame) หรือตัวถังของหม้อแปลง (Tank) ทำหน้าที่บรรจุขดลวด แกนเหล็กรวมทั้งการติดตั้งระบบระบาย ความร้อนให้กับหม้อแปลงขนาดใหญ่
8. สวิตช์และอุปกรณ์ควบคุม (Switch Controller) ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้า และมี อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย
โครงสร้างของหม้อแปลงชนิด 1 เฟส จะมีส่วนประกอบของขดลวด 1 ชุด และหม้อแปลงชนิด 3 เฟสจะมีส่วนประกอบของขดลวด 2 ถึง 3 ชุด เนื่องจากหม้อแปลงเป็นอุปกรณ์จ่ายกำลังไฟฟ้าจึงมีขนาดเป็นโวลต์แอมป์ (VA) หม้อแปลงขนาดใหญ่จะมีขนาดเป็นกิโลโวลต์แอมป์ (kVA) และเมกกะโวลต์แอมป์ (MVA)



ชนิด 1 เฟส



ชนิด 3 เฟส




ฉนวน ( Insulator)
สายทองแดงจะต้องผ่านการเคลือบน้ำยาฉนวน เพื่อป้องกันไม่ให้ขดลวดลัดวงจรถึงกันได้ การพันขดลวดบนแกนเหล็ก จึงควรมีกระดาษอาบน้ำยาฉนวน คั่นระหว่างชั้นของขดลวดและคั่นแยกระหว่างขดลวด ปฐมภูมิกับทุติยภูมิด้วย ใน หม้อแปลงขนาดใหญ่มักใช้กระดาษอาบน้ำยา ฉนวนพันรอบสายตัวนำก่อนพันเป็นขดลวดลงบนแกนเหล็ก นอกจากนี้ ยังใช้น้ำมันชนิดที่เป็นฉนวนและระบายความร้อนให้กับขดลวดอีกด้วย


แกนเหล็ก ( Core)
แผ่นเหล็กที่ใช้ทำหม้อแปลงจะมีส่วนผสมของสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอนเพื่อรักษาความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น รอบขดลวดไว้ แผ่นเหล็กแต่ละชั้นเป็นแผ่นเหล็กบางเรียงต่อกัน หลายชิ้นทำให้มีความต้านทานสูงและช่วยลดการสูญเสีย บนแกนเหล็กที่ส่งผลให้เกิดความร้อนหรือที่เรียกว่า กระแสไหลวนบนแกนเหล็กโดยทำแผ่นเหล็กให้เป็นแผ่นบางหลาย แผ่นเรียงซ้อนประกอบขึ้น เป็นแกนเหล็กของหม้อแปลง ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบเช่น แผ่นเหล็กแบบ Core และแบบ Shell



แกนเหล็กหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 1 เฟส



แกนเหล็กหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 3 เฟส



ขั้วต่อสายไฟ ( Terminal)
โดยทั่วไปหม้อแปลงขนาดเล็กจะใช้ขั้วต่อไฟฟ้าต่อเข้าระหว่างปลายขดลวดกับสายไฟฟ้าภายนอก และ ถ้าเป็นหม้อแปลง ขนาดใหญ่จะใช้แผ่นทองแดง ( Bus Bar ) และบุชชิ่งกระเบื้องเคลือบ ( Ceramic ) ต่อเข้าระหว่างปลายขดลวดกับ สายไฟฟ้าภายนอก


แผ่นป้าย ( Name Plate)
แผ่นป้ายจะติดไว้ที่ตัวถังของหม้อแปลงเพื่อแสดงรายละเอียดประจำตัวหม้อแปลง อาจเริ่มจากชื่อบริษัทผู้ผลิต ชนิด รุ่น และขนาดของหม้อแปลง ขนาดกำลังไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าด้านรับไฟฟ้าและด้านจ่ายไฟฟ้า ความถี่ใช้งาน วงจรขดลวด ลักษณะการต่อใช้งาน ข้อควรระวัง อุณหภูมิ มาตรฐานการทดสอบ และอื่น ๆ




ชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้า

การจำแนกหม้อแปลงตามขนาดกำลังไฟฟ้ามีดังนี้
1. ขนาดเล็กจนถึง 1 VA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับ การเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณในงานอิเล็กทรอนิกส์
2. ขนาด 1-1000 VA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับ งานด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก
3. ขนาด 1 kVA -1 MVA เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับ งานจำหน่ายไฟฟ้าในโรงงาน สำนักงาน ที่พักอาศัย
4.ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 1 MVA ขึ้นไป เป็นหม้อแปลงที่ใช้กับ งานระบบไฟฟ้ากำลัง ในสถานีไฟฟ้าย่อย การผลิตและจ่ายไฟฟ้านอกจากนี้หม้อแปลง ยังสามารถจำแนกชนิดตามจำนวนรอบของขดลวดได้ดังนี้
5.หม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าเพิ่ม (Step-Up) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบมากกว่าขดลวดปฐมภูมิ
6.หม้อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าลง (Step-Down) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบน้อยกว่าปฐมภูมิ
7.หม้อแปลงที่มีแทปแยก (Tap) ทำให้มีขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้หลายระดับ




8. หม้อแปลงที่ใช้สำหรับแยกวงจรไฟฟ้าออกจากกัน (Isolating) ขดลวดทุติยภูมิจะมีจำนวนรอบเท่ากัน กับขดลวดปฐมภูมิหรือมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่ากันทั้งสองด้าน


9. หม้อแปลงแบบปรับเลื่อนค่าได้ (Variable) ขดลวดทุติยภูมิและปฐมภูมิจะเป็นขดลวดขดเดียวกัน หรือเรียกว่าหม้อแปลงออโต้ (Autotransformer) ดูรูปที่15(ก)มักใช้กับการปรับขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้กับวงจรไฟฟ้าตามต้องการ และสำหรับวาไรแอค (Variac) นั้นเป็นชื่อเรียกทางการค้าของหม้อแปลง ออโต้ที่สามารถปรับค่าได้ด้วยการเลื่อนแทปขดลวด


10.หม้อแปลงกระแส (CurrentTransformer:CT) ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่ต้องต่อร่วมกันในวงจร เดียวกันแต่ต้องการกระแสไฟต่ำหม้อแปลงกระแส จะทำหน้าที่แปลงขนาดกระแสลงตามอัตราส่วนระหว่าง ปฐมภูมิต่อทุติยภูมิเช่น 300 : 5 หรือ 100 : 5 เป็นต้น สำหรับหม้อแปลงกระแส 300 : 5 หมายถึงหม้อแปลงจะจ่ายกระแสทุติยภูมิ 5 A หากได้รับกระแสปฐมภูมิ 300 A หม้อแปลงกระแสจะต้องมีโหลดต่อไว้กับ ทุติยภูมิเพื่อป้องกันทุติยภูมิเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงในขณะที่ปฐมภูมิมีกระแสไฟฟ้าผ่าน และถ้าหม้อแปลงกระแสไม่ได้ใช้งาน ควรใช้สายไฟลัดวงจรหรือ ต่อวงจรไว้กับขั้วทุติยภูมิด้วย